กาญจนบุรี 02-12-2567 1.ช่องเขาขาด Part1

December 5, 2024 by
Administrator

อาคารพิพิธภัณฑ์ อาคารสีขาว มีทั้งหมด 2 ชั้น ทางเข้าจะอยู่ชั้นบน เมื่อเดินเข้าไปก็จะมีเจ้าหน้าที่คอยต้อนรับ พร้อมอธิบายข้อมูลการเข้าชม และเส้นทางสำหรับเดินศึกษาด้านล่าง จุดแรกจะเป็นจุดชมวิวของอาคาร ซึ่งทำเอาไว้ดีมากเลยทีเดียว จากจุดชมวิวเราจะสามารถมองลงไปเห็นทางเดินศึกษาธรรมชาติด้านล่างได้




เมื่อเดินเข้ามาด้านใน เสียงแรกที่พวกเราจะได้ยินคือเสียงการตอกเหล็กกระเทาะหิน ของเชลยศึกในสมัยนั้น พร้อมด้วยกำแพงที่เต็มไปด้วยรายชื่อของเชลยศึกที่ต้องมาใช้แรงงานสร้างทางรถไฟสายนี้



"ถ้าเรามีช่วงเวลาที่แย่ พวกเขาก็มีช่วงเวลาที่เลวร้าย" สำหรับห้องแรกจะเป็นห้องวีดีโอ บอกเล่าเรื่องราวสิ่งที่เกิดขึ้นที่นี่




ทำไมช่องเขาขาดนี้ถึงมีความสำคัญ? ช่องนี้เดิมคือช่อง KONYU เป็นช่วงที่การก่อสร้างยากที่สุดเป็นอันดับต้นๆของทางรถไฟสายมรณะเส้นนี้ คนงานต้องทำงานมากถึง 18 ชั่วโมง / วัน...เอาจริงดิ!!! ปกติเวลาเราทำงานกันแต่ละวัน 8-10 ชั่วโมงนี่ ก็เรียกได้ว่าหมดสภาพกันแล้ว ที่นี่ทำ 18 ชั่วโมงแล้วไม่ใช่งานออฟฟิส มันคืองานที่ใช้แรงงานมหาศาล ในทุกๆวัน




เพราะคนงานต้องทำงานกันทั้งกลางวันและกลางคืน โดยใช้คบเพลิงที่ทำจากไม้ไผ่ให้แสงสว่าง แสงไฟที่วูบๆวาบๆนี้ทำให้ช่องคอนยูนี้มีอีกชื่อเรียกว่าช่องไฟนรก


ความพีดที่ถัดมา เกิดขึ้นจากการได้เห็นตัวอย่างการจัดแสดงตรงนี้ ซึ่งแม้จะไม่ต้องมีคำอธิบายก็เข้าใจได้เพียงตาเห็น ระหว่างงานที่เกิดขึ้นกับข้าวที่ได้กิน




ถ้าคิดว่านั่นพีคแล้ว ความพีคถัดมาคืองานที่นี่ส่วนมากแล้วเป็นงานแฮนด์เมด ปกติแล้วงานแฮนด์เมดหรือทำมือจะหมายถึงงานฝีมือถูกมั้ยครับ แต่สำหรับที่นี่คืองานสกัดหินเจาะภูเขาด้วยมือ เครื่องมือที่มีมีแค่ฆ้อนกับแท่งเหล็ก และเท่านั้น




เมื่อชมข้อมูลชั้นบนเสร็จแล้ว พวกเราก็เดินลงไปยังชั้นล่างเพื่อที่จะเตรียมตัวออกเดินทาง ตามรอยเส้นทางที่พวกเขาเหล่าเชลยเคยทำงาน เคยอยู่ และเสียชีวิต




ที่ชั้นล่าง จะมีเจ้าหน้าที่คอยให้คำแนะนำเส้นทางเดิน สำหรับพวกเราที่เลือกเส้นทางไกล เจ้าหน้าที่จะให้วิทยุสื่อสาร 1 เครื่องไปด้วย และจะคอยเรียกวิทยุทุกๆ 1 ชั่วโมง มีเครื่องบรรยายพร้อมหูฟัง ซึ่งทำให้รู้เลยว่าหน่วยงานของออสเตรเลีย ให้ความสำคัญกับสถานที่แห่งนี้มากขนาดไหน หูฟังเป็นแบบใช้แล้วไม่ต้องคืน เพราะป้องกันเรื่องโรคติดต่อ และที่สำคัญทั้งหมดของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ไม่มีค่าบริการ




มีใครอ่านมาถึงตรงนี้แล้วบ้าง ยังอยู่กับพวกเรามั้ย ถ้าพร้อมแล้วไปครับ เดินทางสู่ประวัติศาสตร์ของช่องเขานรกแห่งนี้กัน

Administrator December 5, 2024
Share this post
Tags
Archive